Rechercher dans ce blog

Sunday, May 23, 2021

แนะ 10 จุดสังเกต 'ข่าวปลอม' อันไหนข่าวจริง อันไหนข่าวลวง? - เดลีนีวส์


ในช่วงนี้ เฟคนิวส์(Fake News) หรือ “ข่าวปลอม" ได้กลับมาระบาดอย่างหนัก “ว่อนโซเซียล" อีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสาม ในเรื่องเกี่ยวกับวัคซีน ไม่รู้อันไหนข่าวจริง อันไหนข่าวลวง!!
 
ส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิด หรือสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในสังคมอย่างมาก  แม้ว่าทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส จะจัดตั้ง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเป็นจริงว่า “อันไหนข่าวจริง” หรือ “อันไหนข่าวปลอม”  เพื่อชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ ถึงข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้ “รู้ทันเฟคนิวส์” ที่ถูกปล่อยออกมา
 
แต่ดูเหมือนว่าสังคมไทยก็ยังเผชิญกับการเผยแพร่ข่าวปลอมที่รุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ในด้านต่างๆ  โดยข้อมูลจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ซึ่งได้ตรวจสอบข่าวปลอมในช่วงไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-11 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา พบจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 3,857,190 ข้อความ
 
หลังจากคัดกรองพบข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 788 ข้อความ และมีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 343 เรื่อง อยู่ใน 2  หมวดหมู่ข่าว คือ หมวดหมู่สุขภาพ 233 เรื่อง คิดเป็น 68% และหมวดหมู่นโยบายรัฐ 110 เรื่อง คิดเป็น 32%

 

ส่วนภาพรวมสถานการณ์ข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก จากการติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์ (Social Listening) และการแจ้งเบาะตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 63 – 11 พ.ค.64 รวมระยะเวลา 475 วัน พบว่า มีจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 73,833,192 ข้อความ
 

โดยหลังจากคัดกรองพบข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 6,791 ข้อความ และมีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 3,376 เรื่อง  อันดับ 1 คือ หมวดหมู่สุขภาพ พบจำนวน 2,242 เรื่อง คิดเป็น 66% หมวดหมู่นโยบายรัฐ 1,011 เรื่อง คิดเป็น 30% หมวดหมู่เศรษฐกิจ 124 เรื่อง คิดเป็น 4% ในส่วนของหมวดหมู่ภัยพิบัติไม่พบเรื่องที่เข้าข่าย
 
ทั้งนี้หนึ่งในสาเหตุที่ เฟคนิวส์ กระจายไปในวงกว้างเหมือน “ไฟไหม้ฟาง” ก็เนื่องจากความนิยมการใช้งาน"โซเชียล มีเดีย" หรือ ที่รู้จักกันว่า "สื่อสังคมออนไลน์"
 

ซึ่งผู้ใช้งาน สามารถ "กดโพสต์ กดแชร์" คอนเทนต์หรือเนื้อหาต่างๆได้ง่าย ซึ่งหากผู้ใช้งานคนนั้นๆ ขาดวิจารณญาณในการการคัดกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง หรือ ความน่าเชื่อถือ ก่อนที่จะโพสต์ หรือแชร์ ก็ยอมเป็นการจุดชนวนให้ เฟคนิวส์ หรือข่าวปลอม ขยายวงกว้างไม่ต่างจาก "ไฟลามทุ่ง" นั่นเอง
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข้อมูลจาก กระทรวงดีอีเอส ระบุว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!

และเมื่อเราเป็นคนชอบเสพสื่อ ติดตามข่าวสาร ตามช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะบน โซเชียล มีเดีย ต่างๆ นั้น เราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง หรือ สังคมได้อย่างไร ทาง กระทรวงดีอีเอสได้แนะนำ 10 จุดสังเกต “เฟคนิวส์" หรือ “ข่าวปลอม" เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดกรอง หรือตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อ หยุดโพสต์ หยุดแชร์ หยุด การแพร่กระจายข้อมูลเนื้อหาข่าวที่เป็นเท็จเหล่านี้


 
โดย จุดสังเกตที่ 1.สงสัยข้อความพาดหัว  โดยข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจ โดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ ข่าวนั้นน่าจะเป็นข่าวปลอม
 
จุดสังเกตที่ 2  ยูอาร์แอล( URL)  โดย ยูอาร์แอล หรือ ลิงค์หลอกลวง หรือดูคล้ายอาจเป็นสัญญาณของ ข่าวปลอมได้ ซึ่งเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากเปลี่ยนแปลง ยูอาร์แอล เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง เราอาจไปที่เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบ ยูอาร์แอล กับแหล่งข่าวที่มี
 
จุดสังเกตที่ 3  สังเกตแหล่งที่มา โดยตรวจดูให้แน่ใจว่าเรื่องราวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียง ด้านความถูกต้อง หากเรื่องราวมาจาก องค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
 
จุดสังเหตที่ 4 มองหาการจัดรูปแบบที่ไม่ปกติ  ซึ่งเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากมักมีการ สะกดผิดหรือ วางเลย์เอาต์ไม่ปกติ โปรดอ่านอย่างระมัดระวังหากเราเห็นสัญญาณเหล่านี้
 
จุดสังเกตที่ 5 พิจารณารูปภาพ   ซึ่งเรื่องราวข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เป็นความจริง โดยบางครั้ง รูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว หรือเนื้อหา ซึ่งเราสามารถค้นหาเพื่อตรวจสอบ ได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นมาจากที่ไหน
 
จุดสังเกตที่ 6 ตรวจสอบวันที่  ทั้งนี้เรื่องราวข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการ เปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
 
จุดสังเกตที่ 7 ตรวจสอบหลักฐาน  โดยการตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
 
จุดสังเกตที่ 8 ดูรายงานอื่น ๆ  ทั้งนี้หากไม่มีแหล่งที่มาอื่น ๆ ที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าว เป็นข่าวปลอม หากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง


 
จุดสังเกตที่ 9 เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่  ซึ่งบางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่องตลกหรือการล้อเลียนได้ยาก ให้ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าว ฟังดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่
 
และ จุดสังเกตที่ 10 เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม  โดยให้ใช้วิจารณญาณเพื่อคิดวิเคราะห์เรื่องราว ที่เราได้อ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่เราแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
 
ทั้งหมดเป็นจุดสังเกตว่าข่าวไหนมีโอกาสเป็นข่าวปลอม และมื่อเรารู้ข้อมูลแน่นอนแล้วว่าเป็นข่าวปลอม สิ่งสำคัญคือ “อย่าแชร์ต่อ” เพื่อไม่ให้ข่าวเหล่านั้นขยายไปในวงกว้าง สร้างความเข้าใจผิดให้กับคนอื่นๆ และหากมีข่าวที่สงสัยหรือไม่แน่ใจ อยากให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราสามารถแจ้งเบาะแสข่าวที่น่าสงสัยได้ที่ เว็บไซต์ https://ift.tt/341KtXB
 
หากทุกคนช่วยกัน “เช็ก ก่อน แชร์” ข่าวปลอมในสังคมไทยก็จะลดลงอย่างแน่นอน!!
 
 
จิราวัฒน์  จารุพันธ์
 

Adblock test (Why?)


แนะ 10 จุดสังเกต 'ข่าวปลอม' อันไหนข่าวจริง อันไหนข่าวลวง? - เดลีนีวส์
Read More

No comments:

Post a Comment

รีวิว Death Stranding Director's Cut เล่นบน iPad Pro M2 - iPhoneMod

ในที่สุดสาวก Apple อย่างเราก็ได้เล่นเกม Death Stranding เวอร์ชัน Director’s Cut บนอุปกรณ์ Apple กันแล้ว ใครอยากลองเล่นเข้าไปซื้อเกมใน App S...