ถั่วเหลือง ตัวช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่?
วันที่ 13 มิ.ย. 2564 เวลา 09:20 น.
ปัจจุบันนอกจากข้อถกเถียงที่ว่า “ถั่วเหลืองนั้นดีต่อสุขภาพของเราจริงแค่ไหน?” ยังมีเรื่องที่น่าสนใจกว่า นั่นคือ “ถั่วเหลืองช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมได้จริงหรือไม่?” มาฟังคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับโลกกันเลย
หลายครั้งที่เรามักได้ยินทั้งข้อดีและข้อเสียของถั่วเหลือง แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยออกมายืนยันว่า ถั่วเหลืองได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย และยังเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีมายาวนานหลายพันปี แต่ก็ยังมีหลายคนที่สับสนเกี่ยวกับถั่วเหลืองอยู่
ในบทความนี้ ซูซาน โบเวอร์แมน ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการศึกษาและการฝึกอบรมโภชนาการระดับโลกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้เน้นย้ำในเรื่องของถั่วเหลืองว่ามีประโยชน์ทางโภชนาการอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งคลายความกังวลในเรื่องของอาหารจากธรรมชาติและอาหารเสริมต่างๆ ที่มาจากถั่วเหลืองได้อย่างน่าสนใจ
ถั่วเหลือง ธัญพืชที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
ถั่วเหลืองเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ประกอบด้วยโปรตีนคาร์โบไฮเดตไขมันเกลือแร่วิตามินและแร่ธาตุเช่นแคลเซียมแมกนีเซียมและธาตุเหล็กที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอีกทั้งยังป้องกันโรคต่างๆเช่นโรคหัวใจโรคเบาหวานโรคกระดูกพรุนและโรคมะเร็งได้หลายชนิด
นอกจากนี้ ถั่วเหลืองยังมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงเทียบเท่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งยังมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ไขมันอิ่มตัวต่ำ ปราศจากคอเลสเตอรอล ที่สำคัญถั่วเหลืองยังเป็นแหล่งอาหารที่เข้าถึงได้ง่าย ราคาถูก จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย
โปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
เมื่อพูดถึงโปรตีนสำหรับสร้างกล้ามเนื้อ คนส่วนมากมักนึกถึงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หรือเวย์โปรตีน แต่ในความจริงแล้ว โปรตีนจากถั่วเหลืองก็มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ หรือส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้เช่นกัน แต่เนื่องจากว่าถั่วเหลืองมีฮอร์โมนพืชอย่างไอโซฟลาโวน หรือไฟโตรเอสโตเจน จึงทำให้ผู้บริโภคบางส่วนที่เป็นผู้ชายหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาจทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดระดับลง และขัดขวางการพัฒนากล้ามเนื้อ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาอธิบายแล้วว่า ไอโซฟลาโวนที่พบในถั่วเหลืองที่มีไฟโตเอสโตรเจน จริงๆ แล้วแค่มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกันเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนจากเพศหญิง แต่ไม่ได้ให้ผลลัพธ์เหมือนกันและไม่มีผลต่อการลดระดับฮอร์โมนเพศชาย ดังนั้น โปรตีนจากถั่วเหลืองจึงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และรักษามวลกล้ามเนื้อได้เทียบเท่ากับโปรตีนที่มาจากสัตว์
ถั่วเหลืองช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม
ถั่วเหลืองมีสารสำคัญหลายตัวที่สามารถป้องกันโรคต่างๆ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ต้านมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โดยจากการศึกษาทางระบาดวิทยาของเอเชีย พบว่า การบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณสูงตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ถึง 25% ถึง 60% เช่นเดียวกันกับ The North American Menopause Society ที่สรุปผลวิจัยว่า ถั่วเหลืองไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ถั่วเหลืองกับมื้ออาหารของคุณ
สำหรับเรื่องการรับประทานถั่วเหลืองในมื้ออาหาร ซูซาน โบเวอร์แมน กล่าวเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากถั่วเหลืองมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อีกทั้งหาซื้อได้ง่าย และสามารถนำมาทานคู่กับมื้ออาหารได้ทุกวัน จึงขอแนะนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากถั่วเหลือง อาทิ เอดามาเมะ (Edamame) ถั่วแระญี่ปุ่น คือ ถั่วเหลืองฝักอ่อนสีเขียว นิยมมาต้มในน้ำเกลือ และทานเป็นของว่าง หรือใส่ลงในซุปและสลัด เทมเป้ (Tempeh) เป็นถั่วเหลืองที่นำมาหมักโดยวิธีธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแผ่นที่อัดแน่นด้วยถั่ว เนื้อนุ่มสามารถหั่นเป็นชิ้นต่างๆ เหมาะสำหรับสลัดและอาหารประเภทผัด มิโซะ ซอสที่ทำจากถั่วเหลืองหมัก สำหรับทำเป็นซุปและเป็นส่วนผสมในซอสน้ำสลัดและหมัก นมถั่วเหลือง ทำจากการบดของถั่วเหลืองแห้ง นำมาผสมกับน้ำ ซึ่งใช้แทนนมได้ ปรุงอาหารหรือนำมาผสมกับโปรตีนเชคได้ ถั่วเหลือง สามารถนำมาทำของว่าง และนำมาใส่กับสลัด หรือโรยเป็นซีเรียล ผงโปรตีนถั่วเหลืองและสารทดแทนเนื้อสัตว์ ทำจากแป้งถั่วเหลือง มีลักษณะเป็นผง เพื่อนำไปผสมน้ำเขย่าพร้อมดื่ม หรือนำไปใส่ลงในข้าวโอ๊ต นอกจากนี้สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ต่างๆ ในทุกเมนูอาหารได้อีกด้วย เต้าหู้ คือ ชีสที่ทำจากนมถั่วเหลือง มีตั้งแต่เนื้อแน่นเป็นพิเศษจนถึงนุ่มพิเศษ มีรสชาติอร่อยเข้ากับอาหารที่ปรุงได้อย่างดี”
ถั่วเหลือง ตัวช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่? - โพสต์ทูเดย์
Read More
No comments:
Post a Comment